วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบการรักษาความปลอดภัย

การถอดรหัส
Convolution ด้วย Viterbi Algorithmการถอดรหัส Convolution นั้นมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าวิธีการเข้ารหัสมาก ซึ่งการถอดรหัสมีหลายวิธีแต่การถอดรหัสด้วย Viterbi Algorithm นั้นเป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูง ซึ่งลักษณะการทำงานของ Viterbi Algorithm เป็นแบบ Maximum Likelihood Decoding โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการถอดรหัสจะเป็นเส้นทางเพียงเส้นทางเดียวที่มีความน่าจะเป็นสูงสุดจากเส้นทางทั้งหมดใน Trellis Diagram ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับข้อมูลที่ถูกส่งมากที่สุด โดย Viterbi Algorithm นั้น มีขั้นตอนในการทำงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน [3] ดังต่อไปนี้ขั้นตอนที่ 1 Branch Metric Generationขั้นตอนนี้คำนวณหาค่า Branch Metric (BM) จากข้อมูลอินพุตที่รับเข้ามา r กับค่าเอาต์พุตของการเข้ารหัส C การคำนวณหาค่า Branch Metric ต้องคำนวณทุกๆ สาขาหรือ Branch โดย Branch เท่ากับ 2K การคำนวณหาค่า Branch Metric แสดงดังการถอดรหัส (Decoding)การถอดรหัส หมายถึงการอ่านหรือแปลงเลขจากอินพุตระบบหนึ่งให้แสดงเลขอินพุตนั้นออกมาเป็นเลขอีกระบบหนึ่ง หลักการออกแบบและการนำไอซีถอดรหัสไปใช้งาน สิ่งแรกที่ควรรู้คือ ตารางการทำงานหรือหน้าที่การทำงาน (Function Table) ของไอซีเบอร์นั้นๆ เพราะจะทำให้ทราบถึงสภาพการทำงานที่ต้องการ ตัวอย่างในตารางที่ 1 เป็นตารางการทำงานของวงจรถอดรหัสที่มี 3 อินพุตและมี 8 เอาท์พุตหรือเรียกว่า “Octal Decoder (3-line-to-8-line)” โดยมีเอาท์พุตให้เลือกใช้ 2 แบบ คือ แอกทีฟ 1 (High) และแอกทีฟ 0 (Low) ซึ่งในตารางที่ 1 (ก) เป็นเอาท์พุตแบบแอกทีฟ 1 (Action High) หมายถึงเอาท์พุตที่ถูกเลือกจะแสดงค่าลอจิก 1 นอกนั้นจะเป็นลอจิก 0 ส่วนตารางที่ 1 (ข) เป็นเอาท์พุตแบบแอกทีฟ 0 (Action Low) หมายถึง เอาท์พุตที่ถูกเลือกจะแสดงค่าลอจิก 0 นอกนั้นเป็นลอจิก 1โดย ค่า BM แทนค่า Branch Metric ระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา n ค่า r แทนค่า ข้อมูลอินพุตที่รับเข้ามา ณ เวลา n ค่า C แทนค่าเอาต์พุตของการเข้ารหัสระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา nขั้นตอนที่ 2 Survivor Path และ Path Metric Updateขั้นตอนนี้คำนวณหาค่า Survivor Path และ Path Metric จากจำนวน State การทำงานทั้งหมดค่า Path Metric ที่เลือกไว้เพื่อใช้ในการหาค่า Path Metric ครั้งต่อไป (Update) ส่วนค่า Survivor Path เป็นค่าที่ใช้ในการตัดสินใจหาค่าเอาต์พุต โดยการคำนวณหาค่า Survivor Path และ Path Metric นั้นค่าของ Branch Metric และ Path Metric จะถูกเข้าด้วยกัน ซึ่งผลการบวกนั้นมีสองค่าที่เข้ามาในแต่ละจุดเชื่อมต่อ (Trellis Node) ของ Trellis Diagram โดยค่า Path Metric เป็นค่าที่เลือกจากค่าผลบวกที่น้อยกว่า ส่วนค่า Survivor Path เป็น State การทำงานที่น้อยกว่าจากการเลือก Path Metric ซึ่งแสดงดัง(2)โดย ค่า PM แทน Path metric ระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา n ค่า C แทนค่าเอาต์พุตของการเข้ารหัสระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา nขั้นตอนที่ 3 Optimum Paths Trace Backขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการตัดสินใจหาค่าเอาต์พุต โดยใช้ค่า Survivor Path ในแต่ละ State ที่บันทึกไว้มาตัดสินใจเลือกเส้นทางของข้อมูล โดยการตัดสินใจหาเส้นทางของข้อมูลจะเริ่มจาก Survivor Path ในอดีต (Trace Back) โดยในการเริ่มต้นที่เวลาผ่านไป L (Latency) โดยในทางปฏิบัติการ L ต้องมีค่ามากกว่าห้าเท่าของค่า K (Constrain Length) จึงทำให้การถอดรหัสได้ข้อมูลที่ถูกต้องสูงรูปแบบการทำงานของการถอดรหัสด้วยวิธี Viterbi มีสองแบบ ได้แก่ Hard Decision และ Soft Decision ซึ่งอธิบายได้ดังนี้คือ การทำงานของวงจรถอดรหัสแบบ Hard Decision นั้น ข้อมูลอินพุตที่รับจากส่วนของมอดูเลชั่นที่ถูกจัดระดับเป็นสองระดับคือ “0” และ “1” ต่ออินพุตหนึ่งบิต ส่วนของการทำงานของวงจรถอดรหัสแบบ Soft Decision นั้น ข้อมูลอินพุตที่รับจากส่วนของมอดูเลชันที่ถูกจัดระดับมากกว่าสองระดับต่ออินพุตหนึ่งบิต เช่น 4 ระดับ (2 บิต) หรือ 8 ระดับ (3 บิต) เป็นต้น การทำงานแบบ Soft Decision จะมีความซับซ้อนมากกว่าแบบ Hard Decision แต่ให้ค่า Coding Gain ที่มากกว่า โดยการทำงานแบบ Hard Decision นั้นใช้สำหรับช่องสัญญาณแบบ Binary Symmetric หรือ Discrete Memoryless Channel ส่วนทำงานแบบ Soft Decision นั้นเหมะสมกับช่องสัญญาณแบบ AWGN (Additive White Gaussian Noise) ซึ่งการทำงานแบบ Soft Decision นั้นให้ค่า Coding Gain ที่มากกว่าแบบ Hard Decision ประมาณ 2 dB [4]

ตัวอย่างการทำ

การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery
ก่อนอื่นเรามารู้จักวิธีการใส่รหัสพาสเวิร์ดให้ไฟล์ .rar กันก่อนดีกว่าจ้ะ เริ่มจากคลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่ต้องการจะใส่ซิปและกำหนดรหัสพาสเวิร์ดจ้ะ เลือกที่ Add to archive... ที่หน้าต่าง Archive name and parameters ให้คลิกที่แท็บ Advanced คลิกที่ปุ่ม Set password... จะมีหน้าต่าง Archiving with password เด้งขึ้นมาให้ คุณๆ ก็ทำการใส่รหัสที่ต้องการแล้วคลิก OK และ OK อีกทีก็เสร็จละจ้ะ หน้าต่างของไฟล์ที่ใส่รหัสพาสเวิร์ดเอาไว้ จะต้องใส่รหัสให้ถูกต้องถึงจะเปิดไฟล์ซิปนั้นๆ ได้จ้ะ การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov

การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery
โปรแกรม Advanced Archive Password Recovery หรือโปรแกรม ARCHPR สามารถถอดรหัสพาสเวิร์ดไฟล์ซิปจากโปรแกรมประเภทบีบอัดข้อมูลต่างๆ เช่น WinZIP, WinRAR และ WinACE ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก และที่สำคัญหน้าตาและคำสั่งต่างๆ ในตัวโปรแกรมค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแค่ไม่กี่คลิกก็สามารถถอดรหัสไฟล์ซิปได้เกือบทุกนามสกุลที่ต้องการได้อย่างสบายๆ หน้าตาเรียบง่ายของโปรแกรม ARCHPR แต่มีความสามารถในการถอดรหัสไฟล์ซิปได้สูงมาก ขั้นตอนการถอดรหัสพาสเวิร์ดไฟล์ซิป ไฟล์ซิปที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่นามสกุลเท่านั้น เช่น .zip, .rar และ .ace ซึ่งทั้ง 3 นามสกุลนี้ สามารถใช้ ARCHPR ถอดรหัสพาสเวิร์ดได้ทั้งหมด
เรามาดูวิธีการใช้โปรแกรม ARCHPR กันเลยดีกว่าจ้ะ เปิดโปรแกรม ARCHPR ขึ้นมา คลิกปุ่ม เพื่อโหลดไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสพาสเวิร์ด คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ซิป เลือกไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสพาสเวิร์ด แล้วคลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม เพื่อเริ่มการถอดรหัสพาสเวิร์ดจ้ะ เมื่อโปรแกรมถอดรหัสสำเร็จ ก็จะแสดงรหัสพาสเวิร์ดของไฟล์ซิปออกมาในช่อง Password for this file สังเกตุดีๆ จ้ะ รหัสแค่ 3 ตัว โปรแกรมใช้เวลาในการถอดรหัส 1 ชั่วโมง 3 นาที 35 วินาที เลยเนาะ ใช่ย่อยมั๊ยล่ะ


การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov

ทีนี้เรามารู้จักวิธีการเซฟโปรเจ็กต์กันหน่อยจ้ะ ไฟล์ซิปที่ถูกตั้งรหัสพาสเวิร์ดด้วยความซับซ้อน โปรแกรมอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการถอดรหัส ซึ่งบางครั้งอาจกินเวลานานหลายวัน ดังนั้นโปรแกรม ARCHPR จึงมีคำสั่งให้สามารถเซฟงานเป็นไฟล์โปรเจ็กต์ (.axr) เก็บไว้เพื่อนำกลับมาถอดรหัสต่อจากครั้งก่อนได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มต้นการถอดรหัสใหม่ นอกจากนี้ค่าต่างๆ ที่เราได้กำหนดไว้ก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนการเซฟโปรเจ็กต์ ดังนี้ กำหนดค่าต่างๆ เพื่อใช้ในการถอดรหัสเสียก่อน เช่น กำหนดรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack จากนั้นคลิกเลือกคำสั่งที่ช่วยในการถอดรหัสจากแท็บคำสั่งต่างๆ ( ความหมายของคำสั่งทั้งหมดจะอธิบายถัดไป ) เมื่อกำหนดคำสั่งต่างๆ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม เพื่อโหลดไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสพาสเวิร์ด คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ซิป คลิกเลือกไฟล์ซิปที่ต้องการ คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม เพื่อเริ่มการถอดรหัสพาสเวิร์ดจ้ะ ไฟล์ซิปที่ถูกตั้งรหัสพาสเวิร์ดอย่างซับซ้อน โปรแกรมจะใช้เวลาในการถอดรหัสที่ค่อนข้างนาน หากต้องการจะหยุดการทำงานของโปรแกรมชั่วคราว เพื่อเซฟเป็นไฟล์โปรเจ็กต์ ให้คลิกที่ปุ่ม เพื่อหยุดการทำงานก่อน จะปรากฏหน้าต่าง ARCHPR ขึ้นมา เพื่อแจ้งให้ทราบว่าโปรแกรมได้หยุดการทำงานแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม OK คลิกปุ่ม เพื่อทำการเซฟไฟล์โปรเจ็กต์เก็บไว้ คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ไว้สำหรับเก็บไฟล์โปรเจ็กต์ ตั้งชื่อให้กับไฟล์โปรเจ็กต์ คลิกปุ่ม Save ก็สามารถเซฟเป็นไฟล์โปรเจ็กต์ได้ตามที่ต้องการแล้ว

ทีนี้เรามาดูการนำไฟล์โปรเจ็กต์ที่ทำการเซฟเอาไว้กลับมาใช้งานกันอีกหน่อยจ้ะ คลิกที่ปุ่ม เพื่อเปิดไฟล์โปรเจ็กต์เข้ามาใช้งาน คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์โปรเจ็กต์ คลิกเลือกไฟล์ (.axr) ที่ต้องการ คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม เพื่อเริ่มทำการถอดรหัสพาสเวิร์ดอีกครั้ง โปรแกรมก็จะทำการถอดรหัสต่อจากจุดเดิมที่เราได้ทำการเซฟไว้ คุณสามารถทำซ้ำวิธีการนี้จนกว่าจะสำเร็จจ้ะ คุณสามารถทำการ Save รหัสพาสเวิร์ดที่โปรแกรมถอดออกมาให้โดยการคลิกที่ปุ่ม Save... ด้านซ้ายมือจ้ะ โปรแกรมจะทำการเซฟรหัสที่ถอดออกมาเป็นไฟล์ .txt ให้คุณกำหนดโฟลเดอร์ที่จะเซฟไฟล์นี้ด้วยนะ เซฟเอาไว้ซะหน่อยเพื่อความอุ่นใจจ้ะ

การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov

ทีนี้เรามาดูคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery กันดีกว่าจ้ะ คำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม ARCHPR จะช่วยให้การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปที่มีความซับซ้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ช่วยลดเวลาในการค้นหา หรือได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงควรรู้จักกับความหมายของคำสั่งต่างๆ ที่มีให้มากที่สุด เพื่อให้การกำหนดค่าการถอดรหัสคำสั่งต่างๆ ที่มีเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม คำสั่งในส่วนของ Type of attack จะเป็นการเลือกรูปแบบการถอดรหัสพาสเวิร์ดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีคำสั่งให้เลือก ดังนี้
Brute - Force เลือกใช้การถอดรหัสแบบ Brute - Force Attack ซึ่งเป็นการถอดรหัสแบบให้เดาสุ่ม โดยโปรแกรมจะนำเอาคำต่างๆ มาผสมผสานกันตั้งแต่ A - Z และตัวเลขทั้งหมดตั้งแต่ 0 - 9 เหมาะสำหรับการค้นหาพาสเวิร์ดที่มีความซับซ้อน แต่จะใช้เวลาในการทำงานที่ค่อนข้างนาน Mask การถอดรหัสแบบนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดตัวอักษรหรือตัวเลขเข้าไป เพื่อช่วยในการค้นหา ซึ่งจะทำให้โปรแกรมลดระยะเวลาในการถอดรหัสลงได้มาก คำสั่งนี้เหมาะสำหรับผู้ที่จำพาสเวิร์ดบางตัวได้ โดยจะต้องเข้าไปกำหนดค่าตัวอักษรหรือตัวเลขที่จำได้ที่แท็บ Range ในช่อง Mask Dictionary จะเป็นการเปรียบเทียบคำที่มีอยู่ในพจนานุกรมของโปรแกรมหรืออาจดาวน์โหลดไฟล์พจนานุกรมเข้ามาเพิ่มเติมได้ โดยจะต้องเข้าไปเลือกไฟล์ Dictionary ที่ต้องการเพิ่มเติมในแท็บ Dictionary อีกครั้งหนึ่ง Plain - text การถอดรหัสที่ผู้ใช้ต้องกำหนดคีย์ที่ต้องการลงไป โดยแต่ละคีย์ที่กำหนดจะต้องมีความสอดคล้องกัน ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบข้อมูลบางส่วนของรหัสพาสเวิร์ดมาบ้าง จึงจะทำให้การถอดรหัสของโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น GuaranteedWinZipRecovery มีรูปแบบคล้ายกับ Plain - text เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องกำหนดไฟล์ Plain - text โดยตรง โดยหากผู้ใช้กำหนดคีย์ข้อมูลได้ดีเท่าไร โปรแกรมก็จะทำการถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีข้อด้อยคือ รองรับไฟล์นามสกุล Zip เท่านั้นและในเวอร์ชั่น 2.20 ไม่สามารถทำงานกับไฟล์ Zip ที่สร้างจากเวอร์ชั่น 8.1 หรือเวอร์ชั่นสูงกว่าได้ Password from keys เป็นการกำหนดคีย์ที่ต้องการลงไป ซึ่งผู้ใช้อาจต้องทราบข้อมูลบางส่วนของรหัสพาสเวิร์ดมาบ้าง โปรแกรมจึงจะสามารถทำการถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov
คำสั่งในส่วนของแท็บ Range เป็นการกำหนดขอบเขตของการถอดรหัสพาสเวิร์ด เช่น กำหนดตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหา หรือกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายในการค้นหาลงไปในช่อง Start from และ End at หรืออาจเลือกกำหนดในช่อง Mask ก็ได้ ซึ่งคำสั่งต่างๆ ในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Brute - force, Mask และ Password from keys เท่านั้น คำสั่งในส่วนของ Brute - force range optionsAll caps latin ( A - Z ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นอักษรตัวใหญ่ตั้งแต่ A - ZAll small latin ( a - z ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นอักษรตัวเล็กตั้งแต่ a - zAll digits ( 0 - 9 ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 - 9All special symbols ( ! @... ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เครื่องหมาย ! หรือ @ เป็นต้นSpace กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่มีช่องว่างAll printable เลือกทุกคำสั่งที่มีในส่วนของ Brute - force range options Start from: กำหนดตัวอักษรเริ่มแรกที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหาEnd at: กำหนดตัวอักษรสุดท้ายที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหาMask: กำหนดจำนวนหลักของรหัสพาสเวิร์ดที่ต้องการค้นหา โดยเราสามารถใส่สัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมาย ? หรือ # และ * แทนจำนวนแต่ละหลักได้ ในส่วนของคำสั่งนี้เราต้องเลือกรูปแบบการถอดรหัสแบบ Mask ในช่อง Type of attack เท่านั้นจึงจะสามารถใช้คำสั่งนี้ได้
คำสั่งในส่วนของแท็บ Length จะเป็นการกำหนดจำนวนหลักสูงสุดและต่ำสุดของรหัสพาสเวิร์ดที่ต้องการค้นหา ซึ่งคำสั่งในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Brute - force และ Password from keys เท่านั้น คำสั่งในส่วนของ Password length optionsMinimal password length กำหนดจำนวนหลักของรหัสพาสเวิร์ดขั้นต่ำที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหาMaximal password length กำหนดจำนวนหลักของรหัสพาสเวิร์ดสูงสุดที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหา
คำสั่งในส่วนของแท็บ Dictionary จะเป็นการกำหนดไฟล์พจนานุกรม ( Dictionary ) ที่ใช้ในการถอดรหัส โดยการคลิกที่ปุ่ม เพื่อเลือกไฟล์พจนานุกรมที่ต้องการใช้ โดยปกติโปรแกรมจะกำหนดค่าเริ่มต้นมาให้ที่ C:\Program Files\ARCHPR\english.dic ซึ่งคำสั่งในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Dictionary เท่านั้น
คำสั่งในส่วนของแท็บ Plain - text เป็นการกำหนดไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสแบบ Plain - text โดยเลือกไฟล์ที่ปุ่ม จากนั้นจึงกำหนดคีย์ที่ต้องการค้นหาในช่อง Start from, Key0, Key1 และ Key2 สำหรับคำสั่งในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Plain - text เท่านั้น
การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov
คำสั่งในส่วนของแท็บ Auto - save เป็นการกำหนดเวลาที่ต้องการให้โปรแกรมทำการเซฟโปรเจ็กต์ให้โดยอัตโนมัติ สามารถกำหนดได้ที่คำสั่ง Save project every แล้วกำหนดช่วงเวลากี่นาทีที่ต้องการให้โปรแกรมเซฟอัตโนมัติได้ที่ช่อง minutes
คำสั่งในส่วนของแท็บ Options เป็นการกำหนดตัวช่วยต่างๆ เพื่อใช้ในการถอดรหัส โดยจะมีคำสั่งให้ผู้ใช้ได้เลือก ดังนี้Priority options เป็นการกำหนดลักษณะการทำงานของโปรแกรม โดยมี 2 คำสั่งย่อยให้เลือก คือ คำสั่ง Background ( กำหนดให้โปรแกรมทำงานอยู่เบื่องหลังเป็นการประหยัดทรัพยากรของระบบ ) และคำสั่ง High ( กำหนดให้โปรแกรมทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแต่ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อมีการเปิดใช้โปรแกรมอื่นๆ มากขึ้น )Enable logging to archpr.log กำหนดให้มีการบันทึกการทำงานต่างๆ ของโปรแกรมเก็บไว้ในไฟล์ชื่อ archpr.logUpdate สำหรับอัพเดตโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ๆ จากทางเว็บไซต์ผู้ผลิตRegister สำหรับการลงทะเบียนเพื่อใช้งานโปรแกรมอย่างถูกต้องจากทางเว็บไซต์ผู้ผลิตLanguage กำหนดภาษาที่ใช้ในโปรแกรมProgress bar update interval กำหนดสถานะการทำงานของ Progress bar ในการอัพเดตโดยสามารถกำหนดช่วงเวลาเป็นหน่วย milliseconds
คำสั่งในส่วนของแท็บ Advanced options เป็นการกำหนดรูปแบบการทำงานของโปรแกรมในขั้นสูง โดยสามารถกำหนดข้อมูลในการค้นหาเป็นเลขฐาน 16 ได้ในช่อง Know bytes โดยต้องเลือกคำสั่ง Use known start of the file for stored archives ( hex ) เสียก่อน ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเลขฐาน 16 มาบ้างพอสมควร สำหรับคำสั่ง Always use WinZIP optimized attack engine if probability is greater then เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับโปรแกรมในการถอดรหัสพาสเวิร์ดไฟล์ WinZIP โดยจะต้องกำหนดค่าความน่าจะเป็นในรูปแบบของจำนวนเปอร์เซ็นต์ คำสั่งในแท็บ Advanced ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องเลขระบบฐาน 16 ( hex ) มาพอสมควรจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากคำสั่งในแท็บนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ Hack Kidie อาจยังไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก เพราะอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควร และคำสั่งอื่นในโปรแกรมนี้ก็สามารถรองรับการทำงานได้อย่างดีอยู่แล้ว
ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานด้วยคำสั่ง Benchmark โดยคลิกที่ปุ่ม ในโปรแกรม ARCHPR จะมีคำสั่ง Benchmark ไว้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการคำนวณรหัสพาสเวิร์ดของแต่ละไฟล์ ว่าจะใช้เวลาในการทำงานเท่าไร ซึ่งสามารถทดสอบได้ดังนี้ คลิกปุ่ม เพื่อโหลดไฟล์ซิปที่ต้องการทดสอบ คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม Benchmark โปรแกรมจะทำการทดสอบประสิทธิภาพ การถอดรหัสของไฟล์ซิป ให้รอสักครู่ เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ จะปรากฏหน้าต่าง Benchmark result ขึ้นมา เพื่อรายงานผลการทดสอบทั้งหมดให้ทราบ
สรุปการทำงานของโปรแกรมกันจ้ะโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery มีความสามารถในการถอดรหัสไฟล์ซิปนามสกุลดังๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาค่อนข้างน้อย เรียกว่าถ้ารหัสพาสเวิร์ดไม่ซับซ้อนมากนัก เราแทบจะไม่ต้องรอนานเลย โปรแกรมก็สามารถถอดรหัสออกมาแสดงให้เราเห็นได้อย่างรวดเร็ว และด้วยคำสั่งที่มีให้เลือกปรับแต่งอยู่พอสมควร ก็จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความชำนาญสามารถกำหนดตัวช่วยให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละครั้งได้อย่างเหมาะสม ทำให้การถอดรหัสไฟล์ซิปที่เข้ารหัสไว้ซับซ้อนกลับกลายเป็นเรื่องง่ายและใช้เวลาไม่นาน ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้ถอดรหัสไฟล์ซิป ซึ่งหากได้ทดลองใช้งานสักระยะหนึ่ง ก็จะรู้ว่าการถอดรหัสไฟล์ซิปไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ความรู้ทั้งหมดนี้... momo5372@hotmail.comคัดลอดของแจ่มมาและแจ่มคัดลอกมาอีกทีจ้ะ จากหนังสือ " มือใหม่หัด Hack ให้รู้ทัน Hacker " ของ คุณ วิษณุ เหล่าพิทักษ์ ขาดตกอะไรไปขออภัยด้วยจ้ะ

ระบบการรักษาความปลอดภัย

การเข้ารหัส (encryption)
คือ การเปลี่ยนข้อความที่สามารถอ่านได้ (plain text) ไปเป็นข้อความที่ไม่สามารถอ่านได้ (cipher text) เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย ปัจจุบันการเข้ารหัสมี 2 รูปแบบคือ


[แก้] ประโยชน์ของการเข้ารหัส
การเข้ารหัสนั้น นอกจากเป็นการทำให้ข้อมูลถูกสับเปลี่ยนเพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นได้แล้ว การเข้ารหัสยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก เช่น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบว่าผู้ที่กำลังใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือทำรายการบนเว็บเพจเป็นผู้ที่เราต้องการติดต่อจริง ไม่ใช่ผู้อื่นที่แอบอ้างเข้ามาใช้ระบบ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นลายเซ็นดิจิตอลในการระบุ หรือยืนยันว่าอีเมล์หรือแฟ้มข้อมูลที่ส่งไปให้ผู้อื่นนั้นมาจากเราจริงๆ ได้อีกด้วย

วิธีการเข้ารหัสมีความสำคัญต่อ 3 ส่วนหลักของระบบการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ
1. ระบบตรวจสอบว่าเป็นเอกสารจริง (Authentication)
2. การพิสูจน์หลักฐานว่าได้กระทำการรายการจริง (Non-Repudiation)
3. การรักษาสิทธิส่วนตัว (Privacy)
นอกจากนี้การเข้ารหัสยังนำไปใช้ในการตรวจสอบการแสดงตัว (Identification) ซึ่งอยู่ในการทำ Authentication โดยใช้พิสูจน์ว่าคนที่ส่งหรือรับข้อมูลนั้นเป็นบุคคลที่เขาอ้างตัวจริงๆ และยังสามารถตรวจสอบไปอีกขั้นว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นได้ถูกดัดแปลงโดยผู้อื่นก่อนถึงมือเราหรือไม่

สำหรับในเรื่องของการพิสูจน์หลักฐานว่าได้กระทำรายการจริง (Non-Repudiation) จะมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำรายการทางธุรกิจ เนื่องจากจะใช้เป็นหลักฐานป้องกันการปฏิเสธในภายหลังว่าไม่ได้เป็นผู้ส่ง / รับ แฟ้มข้อมูล หรือไม่ได้ทำรายการทางธุรกิจนั้นๆ


[แก้] การเข้ารหัสแบบสมมาตร
การเข้ารหัสแบบสมมาตรจะใช้กุญแจตัวเดียวกันสำหรับการเข้าและถอดรหัส อัลกอริทึมที่ได้รับความนิยมได้แก่ DES, AES, IDEA

ยกตัวอย่างการเข้ารหัสของ Caesar cipher (รหัสของซีซาร์) เช่น ต้องการเข้ารหัสคำว่า CAT โดยมีคีย์คือ 3 วิธีเข้ารหัสทำได้โดย นับขึ้นไป 3 ตัวอักษร ดังนั้น

C กลายเป็น D E F
A กลายเป็น B C D
T กลายเป็น U V W
ผลลัพธ์จากการเข้ารหัสคือ คำว่า FDW เมื่อจะถอดรหัส ก็ให้นับย้อนกลับ 3 ตัวอักษร

F กลายเป็น E D C
D กลายเป็น C B A
W กลายเป็น V U T
ได้ผลลัพธ์จากการถอดรหัสคือ CAT เหมือนเดิม ซึ่งจะเห็นได้ว่าคีย์ที่ใช้เข้าและถอดรหัสคือ 3 เหมือนกัน


[แก้] การเข้ารหัสแบบอสมมาตร
การเข้ารหัสแบบอสมมาตรจะใช้กุญแจตัวหนึ่งสำหรับการเข้ารหัส และกุญแจอีกตัวหนึ่งสำหรับการถอดรหัส กุญแจที่ใช้เข้ารหัสเป็นกุญแจที่เปิดเผยสู่สาธารณชน นั่นคือใครๆก็สามารถใช้กุญแจนี้เพื่อเข้ารหัสได้ แต่ถ้าการถอดรหัสจะต้องใช้กุญแจอีกดอกหนึ่งที่ไม่เปิดเผย อัลกอริทึมที่ได้รับความนิยมได้แก่ RSA

ตัวอย่าง ให้นึกถึงหน้าปัดนาฬิกาที่มีเลข 12 ตัวเรียงกันเป็นวงกลม ต้องการส่งเลข 4 ไปให้เพื่อนโดยการเข้ารหัสโดยใช้คีย์เท่ากับ 7

ให้นับตามเข็มนาฬิกาไป 7 ครั้ง -- จาก 4 นับ 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11

11 คือเลขที่ถูกเข้ารหัสแล้ว

เมื่อต้องการถอดรหัส ให้นำ 11 มานับตามเข็มนาฬิกา 5 ครั้ง -- จาก 11 นับ 12, 1, 2, 3, 4

ก็จะได้เลข 4 กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งคีย์ในที่นี้คือ 7 และ 5 นั่นเอง มีความสัมพันธ์กันคือ 7+5 = 12 ตามจำนวนตัวเลขในนาฬิกา

เขียนแบบคณิตศาสตร์

plain text = 4

เข้ารหัสเลข4 ด้วยคีย์ตัวแรกคือ 7 ได้แก่ 4+7 mod 12 = 11

คำนวณคีย์อีกตัว คือ 12 - 7 = 5 ถอดรหัสเลข11 ด้วยคีย์ตัวที่สองคือ 5 ได้แก่ 11+5 mod 12 = 4

การเข้ารหัส เป็นบทความเกี่ยวกับ เทคโนโลยี หรือ สิ่งประดิษฐ์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ การเข้ารหัส ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

ประเภทของไวรัส

มี 5 ประเภท ได้แก่
บูตเซกเตอร์ไวรัส
Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

โปรแกรมไวรัส
Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากท ี่ โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป

ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็
สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

โพลีมอร์ฟิกไวรัส
Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

สทีลต์ไวรัส
Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

symbol‏

~ tilde
` grave accent
! exclamation point
@ at sign
# number sign
$ dollar sign
% percent
^ caret 2^3=8
& ampersand
* asterisk 2*3=6
( ) parentheses
_ underscore
+ plus sign 2+3=5
= equal sign
{ } braces
[ ] brackets
vertical bar
\ backslash
: colon
; semicolon
" “ ” quotation mark
' apostrophe
< > angle brackets
, comma
. period
? question mark
/ slash mark

คำสั่ง DOS

Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน

CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่ CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้ รูปแบบคำสั่ง CD [drive :] [path] CD[..]

CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์ CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D C:>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา

COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์ Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา รูปแบบคำสั่ง COPY [Source] [Destination] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C C:COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A C:INFOCOPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C A:COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C

DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง รูปแบบคำสั่ง DIR /P /W /P แสดงผลทีละหน้า /W แสดงในแนวนอนของจอภาพ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C C:>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน C:>INFODIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า C:>INFODIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น C:> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้

DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก รูปแบบคำสั่ง DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD C:>PROJECTDEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C D:>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D

FDISK ( Fixed Disk) เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัว หนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้ รูปแบบคำสั่ง FDISK /STATUS ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม A:>FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม A:>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์

FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดในฮา ร์ดิสก์ รูปแบบคำสั่ง FORMAT drive: [/switches] /Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format) /S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง A:>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย C:>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format

MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos รูปแบบคำสั่ง MD [drive:] path ตัวอย่างการใช้คำสั่ง D:> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D D:>DOCMD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี


REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้ รูปแบบคำสั่ง REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC C:REN C:MAYABOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC C:REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD

SCANDISK คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์ สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำ การแก้ไข รูปแบบคำสั่ง SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX /AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง A:>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C A:>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ

Type คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์ Type เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงเนื้อหาภายในไฟล์บนจอภาพ คำสั่งนี้จะใช้ได้กับไฟล์แบบ Text ส่วนไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ จะไม่สามารถอ่านได้ รูปแบบคำสั่ง TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>Type AUTOEXEC.BAT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ AUTOEXEC.BAT C:>NORTONTYPE README.TXT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ README.TXT ในไดเร็คทอรี NORTON

XCOPY คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี XCOPY เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ได้เหมือนคำสั่ง COPY แต่ทำงานได้เร็วกว่า และสามารถคัดลอก ได้ทั้งไดเร็คทอรีและไดเร็คทอรีย่อย รูปแบบคำสั่ง XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E /E ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยทั้งหมดรวมถึงไดเร็คทอรีย่อยที่ว่างเปล่าด้วย /S ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยที่ไม่ว่างเปล่าทั้งหมด ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>XCOPY BACKUP F: /S /E คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรีย่อย BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F C:>PRINCE>XCOPY *.VSD A: คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล VSD ในไดเร็คทอรี PRINCE ไปที่ไดรว์ A

เทคนิคการแต่ง registre

เรียกโชว์ Background แบบเต็มๆด้วยการซ่อน Desktop Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDesktop ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อนหน้า Background Setting เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispBackgroundPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อนหน้า Appearance Settingเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispAppearancePage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อนหน้า Display Settingเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispSettingsPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อนหน้า Screensaver Settingเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispScrSavPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อน Device Managerเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDevMgrPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อน Drive ไม่ให้คนอื่นเห็นเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDrives ให้ Double Click ขึ้นมา เลือกใส่ค่าแบบ Decimal แล้วใส่ค่า Value Data เป็นค่าตัวเลขตาม Drive ที่ต้องการให้ซ่อน...
หากต้องการซ่อนหลายไดรว์พร้อมกัน ก็นำค่าของแต่ละไดรว์มาบวกกัน เช่น ต้องการซ่อนไดรว์ A: D: และ F: ก็ใส่ค่าเท่ากับ 41 เป็นต้น หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก และ Restart เครื่อง

ซ่อนไอคอน Network Neighbourhoodเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoNetHood ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

กันไว้ไม่ให้ใครมาเพิ่ม Printerเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoAddPrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

กันไว้ไม่ให้ใครมาลบ Printerเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDeletePrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ซ่อน My Pictures ตรง Start Menuเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoSMMyPictures ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

ลบลูกศรที่ Shortcutเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CLASSES_ROOT\lnkfile] คลิก Name ที่ชื่อว่า IsShortcut แล้วกดปุ่ม Delete เพื่อลบออกไป หรือ Double Click แล้วใส่ค่าเป็น No

แสดงไฟล์ Operating System ที่ซ่อนอยู่เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า ShowSuperHidden ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง

Shortcut เดียว เปิดหลายโปรแกรมให้เปิด Notepad ขึ้นมาค้างเอาไว้ก่อน ต่อจากนั้นไป Copy ส่วนของ Target ของ Shortcut แต่ละตัวเข้ามาไว้ใน Notepad นี้ โดยวิธีการเข้าไป Copy Target ก็คือ ให้คลิกขวาที่ Shortcut ของโปรแกรมที่ต้องการจะให้มีการเปิด แล้วเลือก Properties และที่หัวข้อ Shortcut ก็จะพบกับส่วนของ Target: ให้ทำการ Copy ข้อความในส่วนนี้มาทั้งหมดเมื่อ Copy ได้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Cancel ไป จากนั้นกลับมาที่ Notepad แล้วทำการวางข้อความ Target ที่ได้ Copy มาเอาไว้ใน Notepadข้อควรระวังในจุดนี้ก็คือ1. เวลานำมาวางใน Notepad ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละ Target ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด2. ห้ามลบเครื่องหมายฟังหนู (") ออก ให้คุณใส่เอาไว้เช่นนั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดจากนั้นเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ Save ข้อมูลต่างๆใน Notepad ตัวนี้เป็น Batch File ซึ่งวิธีการ Save เป็น Batch File ก็คือ ให้ Save ไฟล์นี้ให้มีนามสกุลเป็น .bat นั่นเอง โดยจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ สำหรับในตัวอย่างนี้ จะ Save เป็นไฟล์ชื่อว่า Test.bat โดยที่ระหว่าง Save ให้กำหนด Save as type: เป็น All Files (*.*) ด้วย มิเช่นนั้นชื่อไฟล์อาจจะมี .txt ต่อท้ายด้วย ก็จะทำให้ผิด และไฟล์ๆนี้สามารถ Save ไว้ที่ Directory ไหนภายในเครื่องก็ได้

วิธีการทำให้สามารถคลิก Mouse ขวาได้ใน Web Site ที่มีการป้องกันซึ่งจะเป็นการปิด Active Scripting ไม่ให้ทำงานนั่นเอง แต่การปิด Active Scripting ควรปิดชั่วคราว ไม่ควรปิดไว้ตลอด เพราะว่าพวก Script ต่างๆในแต่ละ Web Site นั้น บาง Script ก็มีประโยชน์ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่บาง Script ก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่ความน่ารำคาญ เพราะว่าถ้าปิดไม่ให้พวก Script ที่มีประโยชน์ทำงานนั้น มันก็จะกลายเป็นเรื่องไม่ดีไป บางทีอาจจะใช้งานสิ่งต่างๆใน Web Site ของเขาไม่ได้ไปเลยก็มี

วิธีการปิด Active Scripting ทำได้โดยคลิกไปที่เมนู Tools >> Internet Options จากนั้นจะพบกับหน้าต่าง Internet Properties ซึ่งที่หน้าต่างนี้ ให้คลิกเลือกไปที่หัวข้อ Security และคลิกที่ Internet หนึ่งครั้ง และกดปุ่ม Custom Level. คราวนี้จะพบกับหน้าต่าง Security Settings เลื่อนลงมาที่ส่วนของ Scripting >> Active scripting และเลือกให้เป็น Disable แล้วกด OK และตอบ Yes ไปจนเสร็จ จำเป็นที่จะต้องกด Refresh หน้าเว็บนั้นๆด้วย และลองคลิก Mouse ขวาดู ก็จะเห็นว่าคราวนี้สามารถคลิกได้แล้ว

วิธี Download เพลง, หนังที่ปกติจะให้เปิดเล่นแบบ Onlineวิธีการโหลดเพลงที่ปกติจะให้เล่นแบบ Online ผ่าน Real Player มาเก็บไว้ที่เครื่องเลยนั้น สามารถทำได้โดย เริ่มต้นให้คลิกขวาตรง Link ใน Web ที่เอาไฟล์สำหรับเปิดเพลงนั้นๆ เลือกไปที่ Save Target As... และรอสักครู่ ต่อจากนั้นก็จะมีหน้าต่าง Save As ปรากฏขึ้นมา ให้ทำการ Save (ในขั้นตอนนี้จะได้ไฟล์ที่ 1 ชื่อ music8569.ram) และเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ Notepad เปิดเจ้าไฟล์ๆนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งหากไม่มีอะไรผิดพลาด ภายในไฟล์จะต้องเป็น URL ซึ่งอาจจะมีหลายๆ URL ก็เป็นไปได้ (หากภายในไฟล์ไม่มี URL แสดงว่า Link ที่ทำการคลิกขวาในข้อ 1 นั้นยังไม่ได้เป็น Link สุดท้าย) จะเห็นว่าไฟล์ที่ได้ทำการ Save Target As... มาเก็บไว้ที่เครื่องในตอนแรกนั้น มันจะบรรจุ URL จริงๆของไฟล์เพลง และคราวนี้เมื่อทราบ URL จริงๆของไฟล์เพลงนั้นแล้ว ก็สามารถทำการ Download ได้ (จะใช้โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดก็ได้)

วิธีการเพิ่มความเร็วให้กับ Start Menuเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop] ต่อจากนั้นคลิกขวาที่ Folder ชื่อ Desktop นี้แล้วเลือก New >> String Value และให้เปลี่ยนชื่อเป็น MenuShowDelay เรียบร้อยแล้ว คลิกขวาแล้วเลือก Modify ที่ช่อง Value Data ให้คุณใส่เลข 1 ลงไป จากนั้นกด OK เรียบร้อยแล้ว Restart เครื่องใหม่

วิธีการสร้าง Control Panel ขึ้นมาเป็นของตัวเองเปิดหน้าต่าง Control Panel ปกติขึ้นมาค้างไว้ก่อน สร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ โดยให้ไปที่ File >> New >> Folder และให้คลิกที่ Folder ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ให้เปิดออกมา พร้อมกับเอาเจ้าหน้าต่าง Control Panel จริงๆที่เปิดเอาไว้มาวางใกล้ๆ จากนั้นให้ลากเครื่องมือที่ต้องการจากใน Control Panel จริงๆนั้นมาใส่และตอบ Yes ได้เลย ซึ่งตรงนี้อยากได้เครื่องมืออะไรก็สามารถลากเข้ามาได้เลย ซึ่งเครื่องมือต่างๆที่ได้ลากเข้ามานี้ จะมีข้อความนำหน้าชื่อว่า Shortcut to ซึ่งสามารถเปลี่ยนมันเป็นชื่ออะไรก็ได้

วิธีการทำ Start Menu ให้มี List ในแนวนอนเรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> String Value แล้วตั้งชื่อว่า StartMenuScrollPrograms ให้ Double Click ขึ้นมาแล้วใส่ค่า Value Data เป็น False หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก

ท่านใดที่กลับมาใช้ Office97 แล้วมีปัญหากับ Accessสำหรับท่านใดที่เคยลง Office 2000 และรู้สึกคุ้นเคยหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้ต้องการกลับมาติดตั้ง Office 97 แทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ จะทำให้มีปัญหากับโปรแกรม Access 97 แน่นอน (แต่โปรแกรมอื่นๆสามารถใช้ได้ปกติ) คือจะมีข้อความว่า "Microsoft Access ไม่สามารถเริ่มต้นการทำงาน เนื่องจากไม่มีใบอนุญาต (License) สำหรับมันในเครื่องนี้"
วิธีแก้ไขให้ทำดังนี้ คือว่าให้ค้นหาไฟล์ที่ชื่อ hatten.ttf จากเครื่อง ซึ่งปกติไฟล์นี้จะอยู่ที่ C:\WINDOWS\FONTS นั่นเอง จากนั้นลบไฟล์นี้ทิ้ง ต่อจากนั้นให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 97 ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อความแน่นอน ก็น่าจะ Restart เครื่องด้วย คราวนี้ก็จะสามารถกลับมาใช้ Access 97 ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้ว

วิธีการลงทะเบียนชื่อ ใน IRC อย่างถาวรขั้นแรกให้ใช้ Pirch Login และทำการ Connect เข้ามาให้เรียบร้อยก่อน วิธีในการลงทะเบียนคือ ให้พิมพ์คำว่า /msg nickserv register E-Mail แต่ตอนลงทะเบียน คุณต้องใช้ชื่อที่เราต้องการลงทะเบียนก่อน ถ้าเกิดว่ายังเป็น Guest????? อยู่ ก็ให้ทำการเปลี่ยนชื่อก่อน โดยพิมพ์ว่า /nick และตามด้วยชื่อที่ต้องการ

การแก้ปัญหาลืม Password ใน WinRouteวิธีการแก้ไขก็คือ ให้คลิกขวาที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอ และเลือกไปที่ Stop WinRoute Engine จากนั้นจะเห็นว่า Icon ของ WinRoute จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะที่มีเครื่องหมายลบสีแดงทับอยู่ ต่อจากนั้นให้เปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Kerio\WinRoute\User\0] ซึ่งเมื่อพบแล้ว ให้ลบคีย์ 0 นี้ทิ้ง จากนั้นให้คลิกที่คีย์ User และไปที่เมนู Registry >> Export Registry File เพื่อทำการ Export เก็บเป็น Registry File เอาไว้

ปรับขนาดซิสเต็มรีสโตร์สามารถแก้ไขได้โดยเปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\StateMgr\Cfg\ReservedDiskSpace] และที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\StateMgr\ReservedDiskSpace] จากนั้นเปลี่ยนค่า Max และ Min เป็นค่าที่ต้องการโดยใช้ชนิดของข้อมูลแบบ DWORD

ปรับค่าคอนฟิคในการต่อเน็ตให้ดีที่สุดถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ RcvWindow และ DefaultTTL ให้ดีที่สุด ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\MSTCP] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultRcvWindow ชนิด String Value เป็น 4288 และลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultTTL ชนิด String Value เป็น 128 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่

ปรับค่าเดียลอัพให้ดีที่สุดถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ Dialup ให้ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\Class\NetTrans] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMTU ชนิด String Value เป็น 576 และลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMSS ชนิด String Value เป็น 536 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่

เพิ่มค่าเซสชั่นในการเชื่อมต่อให้มากขึ้นในวินโดวส์นั้นกำหนดค่าสูงสุดของ HTTP Sessions ไว้จำกัดสำหรับ HTTP 1.0 เป็น 4 ซึ่งทำให้ควรเปิดหน้าต่างอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ได้สูงสุด 4 หน้าต่าง แต่ถ้าใช้ HTTP 1.1 นั้นเป็น 2 ซึ่งยิ่งน้อยไปใหญ่ ถ้าคุณจะเพิ่มค่าก็ทำได้โดยเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Internet Settings] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxConnectionsPerServer (สำหรับ 1.1) และ MaxConnectionsPer1_0Server (สำหรับ 1.0) เป็นค่าแบบ DWORD Value แล้วกำหนดค่าเป็น 8 ทั้งสองตัวก็ได้

ปรับแต่งรีจีสเตอร์ให้ใช้บล็อคไฟล์ที่มีขนาดดีที่สุดถ้าจะปรับแต่งค่าของขนาดของไฟล์ในแต่ละบล็อคที่ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\FileSystem] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า ContigFileAllocSize ชนิด DWORD Value เป็น 512 สำหรับค่าแบบ Decimal หรือเป็น 200 สำหรับค่าแบบ Hex

เพิ่มแคชในการรีเฟรชหน้าจอเปิด Regedit [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer] ใส่ค่าสตริงใหม่ลงที่หน้าต่างด้านซ้าย โดยเลือก Edit >> New >> String Value หรือแก้ไขค่า Max Cached Icons กำหนดค่าเป็น 819

เพิ่มประสิทธิภาพดิสก์แคชแบบแมพแคชโดยปกติวินโดว์ส 98 จะใช้ส่วนของหน่วยความจำเป็นดิสก์แคช เพื่อเพิ่มความเร็วประสิทธิภาพกับระบบที่มีเมมโมรีมากกว่า 64 MB ของหน่วยความจำ โชคร้ายที่หน่วยความจำทั้งหมดที่ไม่ใช้สำหรับแอปพลิเคชั่น และซึ่งหมายถึงหน่วยความจำของจะน้อยกว่า 64 MB ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และหน่วยความจำจะเชื่องช้า ถ้ามีโปรแกรมมากกว่าหนึ่งในการใช้ในคราวเดียว โชคดีที่สามารถระงับความสามารถอย่างนี้โดยการแก้ไขรีจีสเตอร์วินโดว์ส
ใช้ Regedit จากนั้นให้ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\VMM] คลิกขวาพื้นที่ว่างเปล่าในด้านขวาของวินโดว์ส และเลือก New แล้วเลือกเป็น Binary Value ใส่ MapCache และกด Enter โดยไม่ต้องใส่ค่าใดๆ

ลบค่าเก่าในคำสั่ง Find ทิ้งเราสามารถลบค่าเก่าใน Find ได้โดยการเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\Explorer Bars\{C4EE31F3-4768-11D2-BE5C-00A0C9A83DA1}\FilesNamedMRU] ในหน้าต่างด้านขวา ให้ลบค่าที่ไม่ต้องการออก

ลบค่าเก่าๆในคำสั่ง Run ทิ้งเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\RunMRU] ที่หน้าต่างด้านขวา ลบค่าที่ไม่ต้องการออก

ลบค่าใน Address Bar เฉพาะค่าที่ต้องการไม่ลบทั้งหมดต้องการลบโดยปราศจากการเคลียร์ History ทั้งหมด เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\TypedURLs] และลบค่าที่ไม่ต้องการออก

เอา Task Scheduler ออกTask Scheduler ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติในบางเวอร์ชั่นของวินโดว์ส และยังมีเมื่อติดตั้งอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ สามารถที่จะลบมันออกจากระบบดังนี้
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\RunServices] ที่ค่า SchedulingAgent กำหนดเป็น mstask.exe เพียงลบค่าดังกล่าวออกไปเท่านั้น

เมื่อ Windows Update ไม่สำเร็จควรทำอย่าไรวินโดวส์ ME อาจจะมีปัญหาขณะใช้ Windows Update เครื่องอาจจะค้างขณะดาว์นโหลดหรือติดตั้งมัน และบังคับให้รีสตาร์ทเครื่องใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทราบว่าอัพเดทเรียบร้อยดีหรือยัง แต่ไม่เป็นไร ใน Windows Update ได้สร้างค่าชุดของคอนฟิคไฟล์เรียกว่า OEMx.INF สร้างขึ้นโดยอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์โดยบันทึกเซกชั่นต่างๆไว้ ให้ลบไฟล์ OEMx.INF ต่างๆนี้ทิ้งไป โดยไปที่ Start >> Find Files or Folders แล้วพิมพ์ OEM*.INF ช่องชื่อไฟล์ในไดเรกทอรี่ \Windows\Inf เมื่อค้นหาหมดแล้ว ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ หาไฟล์ INF ที่มีขนาด 0 ไบต์ แล้วลบออกให้หมด

เพิ่มความเร็วของ Registerเมื่อใช้วินโดวส์ไปแล้วรู้สึกช้าจากรีจีสตรี้ ให้ลองปรับแต่งรีจีสตรี้ด้วยตัวเอง โดยเปิดดอสพร้อมขึ้นมา แล้วพิมพ์ SCANREG /OPT จากนั้นนั่งรอวินโดวส์จะแพ็คข้อมูลให้

ปรับแต่ง Cache สำหรับ Floppy Diskไปที่ System Properties และคลิกแถบ Performance และคลิก File System คลิกแถบ Removable Disk และเลือกค่า Enable write-behind caching on all removable disk drives

เพิ่มประสิทธิภาพ Hard Diskวินโดว์ 98 จะเห็นฮาร์ดดิสก์บนช่อง IDE อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของดิสก์ โดยไปที่ System Properties จากนั้นเลือกแถบ Device Manager แล้วเปิดส่วน Hard Disk Controller จะเห็นดีไวซ์คอนโทรลเลอร์อุปกรณ์ที่ด้านบนของรายการ (ที่เขียนว่า BUS MASTER Controller) จากนั้นเลือกปุ่ม Properties และเลือกแถบ Settings จากนั้นเลือก Both IDE Channels Enabled

ให้วินโดวส์ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติถ้าต้องการให้ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สามารถทำได้ดังนี้ โดยเปิด Regedit แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop\AutoEndTasks] ให้แก้ไขค่าเป็น 1 แล้วแก้ค่า WaitToKillAppTimeout เป็นจำนวนวินาทีที่คุณต้องการ เช่นเปลี่ยนเป็น 10

ให้วินโดวส์ใช้แรมให้หมดก่อนจึงค่อยใช้ Virtual Memory มา Swap Fileไปที่ Start >> Run พิมพ์ system.ini หาบรรทัดที่มีหัวข้อว่า [386Enh] แล้วพิมพ์คำว่า ConservativeSwapfileUsage=1 ต่อท้ายบรรทัดล่างสุด วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีแรมมากกว่า 128 ขึ้นไป เพราะมันจะเอาพื้นที่ของ Ram ไปทำ Cache วิธีนี้ทำให้ Com เร็วขึ้น 40% เลยทีเดียว

วิธีเก็บไฟล์ Windows Update ไว้ในเครื่องแบบที่อัพเดทอัตโนมัติมาลงเครื่อง พอครบร้อยเปอร์เซ็นต์ จะมีกรอบมาให้ Install อย่าเพิ่ง Install ให้ไป Copy มาก่อน โดยจะซ่อนอยู่ใน Program Files ให้โชว์ All Files และก็อปโฟลเดอร์ชื่อ WindowsUpdate มาไว้ก่อน แล้วค่อย Install เพราะเมื่อ Install แล้ว วินโดว์จะลบโฟลเดอร์นี้ออกไปแบบอัตโนมัติ ไฟล์ Update นี้สามารถเอาไปลงเครื่องอื่นได้ด้วย

เคลียร์การจำการใช้งานใน Document ใน Start Menuเราสามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าเราใช้งานอะไรบ้าง ทำได้โดยเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น ClearRecentDocsOnExit ดับเบิลคลิก ใส่ค่าเป็น 1

ตั้งเวลา Shutdown ใน Windowsใน WinMe สร้าง ShortCut ใน Scheduled Tasks แล้วให้รัน windows/rundll.exe;user.exe,exitwindowsใน WinXPใช้คำสั่ง [c:\windows\system32\]shutdown.exe [-s-r-l] [-t sec]-s = shutdown-r = restart-l = logoff-t = timeoutยกตัวอย่างเช่น shutdown.exe -s -t 60 นั่นหมายความว่าให้ Shutdown โดยนับถอยหลัง 60 วินาที

การถอดรหัส Logon บนวินโดวส์เข้าไปที่ C:\Windows แล้วหาไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .pwl ถ้าต้องการที่จะทำลายรหัสทิ้งไปเลย ก็ให้ลบไฟล์นี้ทิ้งไปได้เลย แต่ถ้าต้องการจะเปลี่ยนรหัสแค่ชั่วครั้งชั่วคราว ก็ให้เปลี่ยนนามสกุลของไฟล์จาก .pwl เป็นชื่ออื่นๆอะไรก็ได้ แล้วเมื่อ Logon มาอีกที มันก็จะให้กรอกรหัสใหม่




วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แนะนำตัวเองค่ะ

นางสาววิไลลักษณ์ พวงเงิน ชื่อเล่น นุชซี่ เบอร์ที่ติดต่อได้ 0804803509
รหัสนักศึกษา 5112252110 โปรแกรมวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์


เพื่อนสนิท
1. นางสาวกิติญญา ปักปิ่น ชื่อเล่น ตั๊กกี้ เบอร์ที่ติดต่อได้ 0849587325
2.นางสาวพัชรี ศรีบุญเรือง ชื่อเล่น เล็กกี้ เบอร์ที่ติดต่อได้ 0844151175

เรื่อง : ASCII
ชื่อ: WILAILUK
HEX: 57 : 49 : 4C : 49 : 41 : 4C : 55 : 4B
BINARY: 01010111 : 01001001 : 01001100 : 01001001 :
01000001 : 01001100 : 01010101 : 01001011

นามสกุล: PUNGNGEN
HEX: 50 : 55 : 4E : 47 : 4E : 47 : 45 : 47
BINARY: 01010000 : 01010101 : 01001110 : 01000111 : 01001110 :
01000111 : 01000101 : 010011

รหัส ASCII
ตัวอักษร HEX BINARY
A = 41 = 01000001
B = 42 = 01000010
C = 43 = 01000011
D = 44 = 01000100
E = 45 = 01000101
F = 46 = 01000101
G = 47 = 01000111
H = 48 = 01001000
I = 49 = 01001001
J = 4A = 01001010
K = 4B = 01001011
L = 4C = 01001100
M = 4D = 01001101
N = 4E = 01001110
O = 4F = 01001111
P = 50 = 01010000
Q = 51 = 01010001
R = 52 = 01010010
S = 53 = 01010011
T = 54 = 01010100
U = 55 = 01010101
V = 56 = 01010110
W = 57 = 01010111
S = 58 = 01011000
Y = 59 = 01011001
Z = 5A = 01011010
ปล.ถ้าพิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
โดย นางสาววิไลลักษณ์ พวงเงิน รหัสนักศึกษา 5112252110