วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบการรักษาความปลอดภัย

การถอดรหัส
Convolution ด้วย Viterbi Algorithmการถอดรหัส Convolution นั้นมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าวิธีการเข้ารหัสมาก ซึ่งการถอดรหัสมีหลายวิธีแต่การถอดรหัสด้วย Viterbi Algorithm นั้นเป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูง ซึ่งลักษณะการทำงานของ Viterbi Algorithm เป็นแบบ Maximum Likelihood Decoding โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการถอดรหัสจะเป็นเส้นทางเพียงเส้นทางเดียวที่มีความน่าจะเป็นสูงสุดจากเส้นทางทั้งหมดใน Trellis Diagram ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับข้อมูลที่ถูกส่งมากที่สุด โดย Viterbi Algorithm นั้น มีขั้นตอนในการทำงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน [3] ดังต่อไปนี้ขั้นตอนที่ 1 Branch Metric Generationขั้นตอนนี้คำนวณหาค่า Branch Metric (BM) จากข้อมูลอินพุตที่รับเข้ามา r กับค่าเอาต์พุตของการเข้ารหัส C การคำนวณหาค่า Branch Metric ต้องคำนวณทุกๆ สาขาหรือ Branch โดย Branch เท่ากับ 2K การคำนวณหาค่า Branch Metric แสดงดังการถอดรหัส (Decoding)การถอดรหัส หมายถึงการอ่านหรือแปลงเลขจากอินพุตระบบหนึ่งให้แสดงเลขอินพุตนั้นออกมาเป็นเลขอีกระบบหนึ่ง หลักการออกแบบและการนำไอซีถอดรหัสไปใช้งาน สิ่งแรกที่ควรรู้คือ ตารางการทำงานหรือหน้าที่การทำงาน (Function Table) ของไอซีเบอร์นั้นๆ เพราะจะทำให้ทราบถึงสภาพการทำงานที่ต้องการ ตัวอย่างในตารางที่ 1 เป็นตารางการทำงานของวงจรถอดรหัสที่มี 3 อินพุตและมี 8 เอาท์พุตหรือเรียกว่า “Octal Decoder (3-line-to-8-line)” โดยมีเอาท์พุตให้เลือกใช้ 2 แบบ คือ แอกทีฟ 1 (High) และแอกทีฟ 0 (Low) ซึ่งในตารางที่ 1 (ก) เป็นเอาท์พุตแบบแอกทีฟ 1 (Action High) หมายถึงเอาท์พุตที่ถูกเลือกจะแสดงค่าลอจิก 1 นอกนั้นจะเป็นลอจิก 0 ส่วนตารางที่ 1 (ข) เป็นเอาท์พุตแบบแอกทีฟ 0 (Action Low) หมายถึง เอาท์พุตที่ถูกเลือกจะแสดงค่าลอจิก 0 นอกนั้นเป็นลอจิก 1โดย ค่า BM แทนค่า Branch Metric ระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา n ค่า r แทนค่า ข้อมูลอินพุตที่รับเข้ามา ณ เวลา n ค่า C แทนค่าเอาต์พุตของการเข้ารหัสระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา nขั้นตอนที่ 2 Survivor Path และ Path Metric Updateขั้นตอนนี้คำนวณหาค่า Survivor Path และ Path Metric จากจำนวน State การทำงานทั้งหมดค่า Path Metric ที่เลือกไว้เพื่อใช้ในการหาค่า Path Metric ครั้งต่อไป (Update) ส่วนค่า Survivor Path เป็นค่าที่ใช้ในการตัดสินใจหาค่าเอาต์พุต โดยการคำนวณหาค่า Survivor Path และ Path Metric นั้นค่าของ Branch Metric และ Path Metric จะถูกเข้าด้วยกัน ซึ่งผลการบวกนั้นมีสองค่าที่เข้ามาในแต่ละจุดเชื่อมต่อ (Trellis Node) ของ Trellis Diagram โดยค่า Path Metric เป็นค่าที่เลือกจากค่าผลบวกที่น้อยกว่า ส่วนค่า Survivor Path เป็น State การทำงานที่น้อยกว่าจากการเลือก Path Metric ซึ่งแสดงดัง(2)โดย ค่า PM แทน Path metric ระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา n ค่า C แทนค่าเอาต์พุตของการเข้ารหัสระหว่าง State i ไปยัง State j ณ เวลา nขั้นตอนที่ 3 Optimum Paths Trace Backขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการตัดสินใจหาค่าเอาต์พุต โดยใช้ค่า Survivor Path ในแต่ละ State ที่บันทึกไว้มาตัดสินใจเลือกเส้นทางของข้อมูล โดยการตัดสินใจหาเส้นทางของข้อมูลจะเริ่มจาก Survivor Path ในอดีต (Trace Back) โดยในการเริ่มต้นที่เวลาผ่านไป L (Latency) โดยในทางปฏิบัติการ L ต้องมีค่ามากกว่าห้าเท่าของค่า K (Constrain Length) จึงทำให้การถอดรหัสได้ข้อมูลที่ถูกต้องสูงรูปแบบการทำงานของการถอดรหัสด้วยวิธี Viterbi มีสองแบบ ได้แก่ Hard Decision และ Soft Decision ซึ่งอธิบายได้ดังนี้คือ การทำงานของวงจรถอดรหัสแบบ Hard Decision นั้น ข้อมูลอินพุตที่รับจากส่วนของมอดูเลชั่นที่ถูกจัดระดับเป็นสองระดับคือ “0” และ “1” ต่ออินพุตหนึ่งบิต ส่วนของการทำงานของวงจรถอดรหัสแบบ Soft Decision นั้น ข้อมูลอินพุตที่รับจากส่วนของมอดูเลชันที่ถูกจัดระดับมากกว่าสองระดับต่ออินพุตหนึ่งบิต เช่น 4 ระดับ (2 บิต) หรือ 8 ระดับ (3 บิต) เป็นต้น การทำงานแบบ Soft Decision จะมีความซับซ้อนมากกว่าแบบ Hard Decision แต่ให้ค่า Coding Gain ที่มากกว่า โดยการทำงานแบบ Hard Decision นั้นใช้สำหรับช่องสัญญาณแบบ Binary Symmetric หรือ Discrete Memoryless Channel ส่วนทำงานแบบ Soft Decision นั้นเหมะสมกับช่องสัญญาณแบบ AWGN (Additive White Gaussian Noise) ซึ่งการทำงานแบบ Soft Decision นั้นให้ค่า Coding Gain ที่มากกว่าแบบ Hard Decision ประมาณ 2 dB [4]

ตัวอย่างการทำ

การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery
ก่อนอื่นเรามารู้จักวิธีการใส่รหัสพาสเวิร์ดให้ไฟล์ .rar กันก่อนดีกว่าจ้ะ เริ่มจากคลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่ต้องการจะใส่ซิปและกำหนดรหัสพาสเวิร์ดจ้ะ เลือกที่ Add to archive... ที่หน้าต่าง Archive name and parameters ให้คลิกที่แท็บ Advanced คลิกที่ปุ่ม Set password... จะมีหน้าต่าง Archiving with password เด้งขึ้นมาให้ คุณๆ ก็ทำการใส่รหัสที่ต้องการแล้วคลิก OK และ OK อีกทีก็เสร็จละจ้ะ หน้าต่างของไฟล์ที่ใส่รหัสพาสเวิร์ดเอาไว้ จะต้องใส่รหัสให้ถูกต้องถึงจะเปิดไฟล์ซิปนั้นๆ ได้จ้ะ การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov

การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery
โปรแกรม Advanced Archive Password Recovery หรือโปรแกรม ARCHPR สามารถถอดรหัสพาสเวิร์ดไฟล์ซิปจากโปรแกรมประเภทบีบอัดข้อมูลต่างๆ เช่น WinZIP, WinRAR และ WinACE ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก และที่สำคัญหน้าตาและคำสั่งต่างๆ ในตัวโปรแกรมค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแค่ไม่กี่คลิกก็สามารถถอดรหัสไฟล์ซิปได้เกือบทุกนามสกุลที่ต้องการได้อย่างสบายๆ หน้าตาเรียบง่ายของโปรแกรม ARCHPR แต่มีความสามารถในการถอดรหัสไฟล์ซิปได้สูงมาก ขั้นตอนการถอดรหัสพาสเวิร์ดไฟล์ซิป ไฟล์ซิปที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่นามสกุลเท่านั้น เช่น .zip, .rar และ .ace ซึ่งทั้ง 3 นามสกุลนี้ สามารถใช้ ARCHPR ถอดรหัสพาสเวิร์ดได้ทั้งหมด
เรามาดูวิธีการใช้โปรแกรม ARCHPR กันเลยดีกว่าจ้ะ เปิดโปรแกรม ARCHPR ขึ้นมา คลิกปุ่ม เพื่อโหลดไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสพาสเวิร์ด คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ซิป เลือกไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสพาสเวิร์ด แล้วคลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม เพื่อเริ่มการถอดรหัสพาสเวิร์ดจ้ะ เมื่อโปรแกรมถอดรหัสสำเร็จ ก็จะแสดงรหัสพาสเวิร์ดของไฟล์ซิปออกมาในช่อง Password for this file สังเกตุดีๆ จ้ะ รหัสแค่ 3 ตัว โปรแกรมใช้เวลาในการถอดรหัส 1 ชั่วโมง 3 นาที 35 วินาที เลยเนาะ ใช่ย่อยมั๊ยล่ะ


การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov

ทีนี้เรามารู้จักวิธีการเซฟโปรเจ็กต์กันหน่อยจ้ะ ไฟล์ซิปที่ถูกตั้งรหัสพาสเวิร์ดด้วยความซับซ้อน โปรแกรมอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการถอดรหัส ซึ่งบางครั้งอาจกินเวลานานหลายวัน ดังนั้นโปรแกรม ARCHPR จึงมีคำสั่งให้สามารถเซฟงานเป็นไฟล์โปรเจ็กต์ (.axr) เก็บไว้เพื่อนำกลับมาถอดรหัสต่อจากครั้งก่อนได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มต้นการถอดรหัสใหม่ นอกจากนี้ค่าต่างๆ ที่เราได้กำหนดไว้ก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนการเซฟโปรเจ็กต์ ดังนี้ กำหนดค่าต่างๆ เพื่อใช้ในการถอดรหัสเสียก่อน เช่น กำหนดรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack จากนั้นคลิกเลือกคำสั่งที่ช่วยในการถอดรหัสจากแท็บคำสั่งต่างๆ ( ความหมายของคำสั่งทั้งหมดจะอธิบายถัดไป ) เมื่อกำหนดคำสั่งต่างๆ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม เพื่อโหลดไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสพาสเวิร์ด คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ซิป คลิกเลือกไฟล์ซิปที่ต้องการ คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม เพื่อเริ่มการถอดรหัสพาสเวิร์ดจ้ะ ไฟล์ซิปที่ถูกตั้งรหัสพาสเวิร์ดอย่างซับซ้อน โปรแกรมจะใช้เวลาในการถอดรหัสที่ค่อนข้างนาน หากต้องการจะหยุดการทำงานของโปรแกรมชั่วคราว เพื่อเซฟเป็นไฟล์โปรเจ็กต์ ให้คลิกที่ปุ่ม เพื่อหยุดการทำงานก่อน จะปรากฏหน้าต่าง ARCHPR ขึ้นมา เพื่อแจ้งให้ทราบว่าโปรแกรมได้หยุดการทำงานแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม OK คลิกปุ่ม เพื่อทำการเซฟไฟล์โปรเจ็กต์เก็บไว้ คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ไว้สำหรับเก็บไฟล์โปรเจ็กต์ ตั้งชื่อให้กับไฟล์โปรเจ็กต์ คลิกปุ่ม Save ก็สามารถเซฟเป็นไฟล์โปรเจ็กต์ได้ตามที่ต้องการแล้ว

ทีนี้เรามาดูการนำไฟล์โปรเจ็กต์ที่ทำการเซฟเอาไว้กลับมาใช้งานกันอีกหน่อยจ้ะ คลิกที่ปุ่ม เพื่อเปิดไฟล์โปรเจ็กต์เข้ามาใช้งาน คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์โปรเจ็กต์ คลิกเลือกไฟล์ (.axr) ที่ต้องการ คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม เพื่อเริ่มทำการถอดรหัสพาสเวิร์ดอีกครั้ง โปรแกรมก็จะทำการถอดรหัสต่อจากจุดเดิมที่เราได้ทำการเซฟไว้ คุณสามารถทำซ้ำวิธีการนี้จนกว่าจะสำเร็จจ้ะ คุณสามารถทำการ Save รหัสพาสเวิร์ดที่โปรแกรมถอดออกมาให้โดยการคลิกที่ปุ่ม Save... ด้านซ้ายมือจ้ะ โปรแกรมจะทำการเซฟรหัสที่ถอดออกมาเป็นไฟล์ .txt ให้คุณกำหนดโฟลเดอร์ที่จะเซฟไฟล์นี้ด้วยนะ เซฟเอาไว้ซะหน่อยเพื่อความอุ่นใจจ้ะ

การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov

ทีนี้เรามาดูคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery กันดีกว่าจ้ะ คำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม ARCHPR จะช่วยให้การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปที่มีความซับซ้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ช่วยลดเวลาในการค้นหา หรือได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงควรรู้จักกับความหมายของคำสั่งต่างๆ ที่มีให้มากที่สุด เพื่อให้การกำหนดค่าการถอดรหัสคำสั่งต่างๆ ที่มีเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม คำสั่งในส่วนของ Type of attack จะเป็นการเลือกรูปแบบการถอดรหัสพาสเวิร์ดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีคำสั่งให้เลือก ดังนี้
Brute - Force เลือกใช้การถอดรหัสแบบ Brute - Force Attack ซึ่งเป็นการถอดรหัสแบบให้เดาสุ่ม โดยโปรแกรมจะนำเอาคำต่างๆ มาผสมผสานกันตั้งแต่ A - Z และตัวเลขทั้งหมดตั้งแต่ 0 - 9 เหมาะสำหรับการค้นหาพาสเวิร์ดที่มีความซับซ้อน แต่จะใช้เวลาในการทำงานที่ค่อนข้างนาน Mask การถอดรหัสแบบนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดตัวอักษรหรือตัวเลขเข้าไป เพื่อช่วยในการค้นหา ซึ่งจะทำให้โปรแกรมลดระยะเวลาในการถอดรหัสลงได้มาก คำสั่งนี้เหมาะสำหรับผู้ที่จำพาสเวิร์ดบางตัวได้ โดยจะต้องเข้าไปกำหนดค่าตัวอักษรหรือตัวเลขที่จำได้ที่แท็บ Range ในช่อง Mask Dictionary จะเป็นการเปรียบเทียบคำที่มีอยู่ในพจนานุกรมของโปรแกรมหรืออาจดาวน์โหลดไฟล์พจนานุกรมเข้ามาเพิ่มเติมได้ โดยจะต้องเข้าไปเลือกไฟล์ Dictionary ที่ต้องการเพิ่มเติมในแท็บ Dictionary อีกครั้งหนึ่ง Plain - text การถอดรหัสที่ผู้ใช้ต้องกำหนดคีย์ที่ต้องการลงไป โดยแต่ละคีย์ที่กำหนดจะต้องมีความสอดคล้องกัน ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบข้อมูลบางส่วนของรหัสพาสเวิร์ดมาบ้าง จึงจะทำให้การถอดรหัสของโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น GuaranteedWinZipRecovery มีรูปแบบคล้ายกับ Plain - text เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องกำหนดไฟล์ Plain - text โดยตรง โดยหากผู้ใช้กำหนดคีย์ข้อมูลได้ดีเท่าไร โปรแกรมก็จะทำการถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีข้อด้อยคือ รองรับไฟล์นามสกุล Zip เท่านั้นและในเวอร์ชั่น 2.20 ไม่สามารถทำงานกับไฟล์ Zip ที่สร้างจากเวอร์ชั่น 8.1 หรือเวอร์ชั่นสูงกว่าได้ Password from keys เป็นการกำหนดคีย์ที่ต้องการลงไป ซึ่งผู้ใช้อาจต้องทราบข้อมูลบางส่วนของรหัสพาสเวิร์ดมาบ้าง โปรแกรมจึงจะสามารถทำการถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov
คำสั่งในส่วนของแท็บ Range เป็นการกำหนดขอบเขตของการถอดรหัสพาสเวิร์ด เช่น กำหนดตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหา หรือกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายในการค้นหาลงไปในช่อง Start from และ End at หรืออาจเลือกกำหนดในช่อง Mask ก็ได้ ซึ่งคำสั่งต่างๆ ในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Brute - force, Mask และ Password from keys เท่านั้น คำสั่งในส่วนของ Brute - force range optionsAll caps latin ( A - Z ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นอักษรตัวใหญ่ตั้งแต่ A - ZAll small latin ( a - z ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นอักษรตัวเล็กตั้งแต่ a - zAll digits ( 0 - 9 ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 - 9All special symbols ( ! @... ) กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เครื่องหมาย ! หรือ @ เป็นต้นSpace กำหนดให้โปรแกรมค้นหาพาสเวิร์ดที่มีช่องว่างAll printable เลือกทุกคำสั่งที่มีในส่วนของ Brute - force range options Start from: กำหนดตัวอักษรเริ่มแรกที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหาEnd at: กำหนดตัวอักษรสุดท้ายที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหาMask: กำหนดจำนวนหลักของรหัสพาสเวิร์ดที่ต้องการค้นหา โดยเราสามารถใส่สัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมาย ? หรือ # และ * แทนจำนวนแต่ละหลักได้ ในส่วนของคำสั่งนี้เราต้องเลือกรูปแบบการถอดรหัสแบบ Mask ในช่อง Type of attack เท่านั้นจึงจะสามารถใช้คำสั่งนี้ได้
คำสั่งในส่วนของแท็บ Length จะเป็นการกำหนดจำนวนหลักสูงสุดและต่ำสุดของรหัสพาสเวิร์ดที่ต้องการค้นหา ซึ่งคำสั่งในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Brute - force และ Password from keys เท่านั้น คำสั่งในส่วนของ Password length optionsMinimal password length กำหนดจำนวนหลักของรหัสพาสเวิร์ดขั้นต่ำที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหาMaximal password length กำหนดจำนวนหลักของรหัสพาสเวิร์ดสูงสุดที่ต้องการให้โปรแกรมค้นหา
คำสั่งในส่วนของแท็บ Dictionary จะเป็นการกำหนดไฟล์พจนานุกรม ( Dictionary ) ที่ใช้ในการถอดรหัส โดยการคลิกที่ปุ่ม เพื่อเลือกไฟล์พจนานุกรมที่ต้องการใช้ โดยปกติโปรแกรมจะกำหนดค่าเริ่มต้นมาให้ที่ C:\Program Files\ARCHPR\english.dic ซึ่งคำสั่งในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Dictionary เท่านั้น
คำสั่งในส่วนของแท็บ Plain - text เป็นการกำหนดไฟล์ซิปที่ต้องการถอดรหัสแบบ Plain - text โดยเลือกไฟล์ที่ปุ่ม จากนั้นจึงกำหนดคีย์ที่ต้องการค้นหาในช่อง Start from, Key0, Key1 และ Key2 สำหรับคำสั่งในแท็บนี้จะเลือกได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกรูปแบบการถอดรหัสในช่อง Type of attack โดยใช้คำสั่ง Plain - text เท่านั้น
การถอดรหัสพาสเวิร์ดซิปด้วยโปรแกรม Advanced Archive Password Recov
คำสั่งในส่วนของแท็บ Auto - save เป็นการกำหนดเวลาที่ต้องการให้โปรแกรมทำการเซฟโปรเจ็กต์ให้โดยอัตโนมัติ สามารถกำหนดได้ที่คำสั่ง Save project every แล้วกำหนดช่วงเวลากี่นาทีที่ต้องการให้โปรแกรมเซฟอัตโนมัติได้ที่ช่อง minutes
คำสั่งในส่วนของแท็บ Options เป็นการกำหนดตัวช่วยต่างๆ เพื่อใช้ในการถอดรหัส โดยจะมีคำสั่งให้ผู้ใช้ได้เลือก ดังนี้Priority options เป็นการกำหนดลักษณะการทำงานของโปรแกรม โดยมี 2 คำสั่งย่อยให้เลือก คือ คำสั่ง Background ( กำหนดให้โปรแกรมทำงานอยู่เบื่องหลังเป็นการประหยัดทรัพยากรของระบบ ) และคำสั่ง High ( กำหนดให้โปรแกรมทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแต่ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อมีการเปิดใช้โปรแกรมอื่นๆ มากขึ้น )Enable logging to archpr.log กำหนดให้มีการบันทึกการทำงานต่างๆ ของโปรแกรมเก็บไว้ในไฟล์ชื่อ archpr.logUpdate สำหรับอัพเดตโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ๆ จากทางเว็บไซต์ผู้ผลิตRegister สำหรับการลงทะเบียนเพื่อใช้งานโปรแกรมอย่างถูกต้องจากทางเว็บไซต์ผู้ผลิตLanguage กำหนดภาษาที่ใช้ในโปรแกรมProgress bar update interval กำหนดสถานะการทำงานของ Progress bar ในการอัพเดตโดยสามารถกำหนดช่วงเวลาเป็นหน่วย milliseconds
คำสั่งในส่วนของแท็บ Advanced options เป็นการกำหนดรูปแบบการทำงานของโปรแกรมในขั้นสูง โดยสามารถกำหนดข้อมูลในการค้นหาเป็นเลขฐาน 16 ได้ในช่อง Know bytes โดยต้องเลือกคำสั่ง Use known start of the file for stored archives ( hex ) เสียก่อน ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเลขฐาน 16 มาบ้างพอสมควร สำหรับคำสั่ง Always use WinZIP optimized attack engine if probability is greater then เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับโปรแกรมในการถอดรหัสพาสเวิร์ดไฟล์ WinZIP โดยจะต้องกำหนดค่าความน่าจะเป็นในรูปแบบของจำนวนเปอร์เซ็นต์ คำสั่งในแท็บ Advanced ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องเลขระบบฐาน 16 ( hex ) มาพอสมควรจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากคำสั่งในแท็บนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ Hack Kidie อาจยังไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก เพราะอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควร และคำสั่งอื่นในโปรแกรมนี้ก็สามารถรองรับการทำงานได้อย่างดีอยู่แล้ว
ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานด้วยคำสั่ง Benchmark โดยคลิกที่ปุ่ม ในโปรแกรม ARCHPR จะมีคำสั่ง Benchmark ไว้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการคำนวณรหัสพาสเวิร์ดของแต่ละไฟล์ ว่าจะใช้เวลาในการทำงานเท่าไร ซึ่งสามารถทดสอบได้ดังนี้ คลิกปุ่ม เพื่อโหลดไฟล์ซิปที่ต้องการทดสอบ คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม Benchmark โปรแกรมจะทำการทดสอบประสิทธิภาพ การถอดรหัสของไฟล์ซิป ให้รอสักครู่ เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ จะปรากฏหน้าต่าง Benchmark result ขึ้นมา เพื่อรายงานผลการทดสอบทั้งหมดให้ทราบ
สรุปการทำงานของโปรแกรมกันจ้ะโปรแกรม Advanced Archive Password Recovery มีความสามารถในการถอดรหัสไฟล์ซิปนามสกุลดังๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาค่อนข้างน้อย เรียกว่าถ้ารหัสพาสเวิร์ดไม่ซับซ้อนมากนัก เราแทบจะไม่ต้องรอนานเลย โปรแกรมก็สามารถถอดรหัสออกมาแสดงให้เราเห็นได้อย่างรวดเร็ว และด้วยคำสั่งที่มีให้เลือกปรับแต่งอยู่พอสมควร ก็จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความชำนาญสามารถกำหนดตัวช่วยให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละครั้งได้อย่างเหมาะสม ทำให้การถอดรหัสไฟล์ซิปที่เข้ารหัสไว้ซับซ้อนกลับกลายเป็นเรื่องง่ายและใช้เวลาไม่นาน ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้ถอดรหัสไฟล์ซิป ซึ่งหากได้ทดลองใช้งานสักระยะหนึ่ง ก็จะรู้ว่าการถอดรหัสไฟล์ซิปไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ความรู้ทั้งหมดนี้... momo5372@hotmail.comคัดลอดของแจ่มมาและแจ่มคัดลอกมาอีกทีจ้ะ จากหนังสือ " มือใหม่หัด Hack ให้รู้ทัน Hacker " ของ คุณ วิษณุ เหล่าพิทักษ์ ขาดตกอะไรไปขออภัยด้วยจ้ะ

ไม่มีความคิดเห็น: